บทสังเกตุการณ์

บันทึกข้อมูลเพิ่มเติมจากการสังเกตการณ์
วัฒนธรรมไท-ยวน

ระยะเวลาในการศึกษา : 2 วัน 1 คืน วันเสาร์ที่ 2 ถึงวันอาทิตย์ที่ 3 กรกฎาคม 2559
สถานที่ศึกษา : ตำบล ต้นตาล อำเภอ เสาไห้ จังหวัดสระบุรี
การเดินทาง
          การเดินทางครั้งนี้เริ่มเดินทางในวันเสาร์ที่ 2 กรกฎาคม 2559 เป็นวันหยุดที่ผู้คนส่วนใหญ่มุ่งหน้าสู่ต่างจังหวัด รถค่อนข้างติดแต่ก็เดินทางได้สะดวก ซึ่งระยะทางก็ไม่ยากเลยหากเราจะไปในสถานที่แห่งนี้เพียงเริ่มจากกรุงเทพมหานคร ใช้ทางหลวงหมายเลข 1 (พหลโยธิน) ผ่านอำเภอวังน้อย อำเภอหนองแค ตำบลหินกอง ถึงสี่แยก สะพานต่างระดับสระบุรี ให้เลี้ยวขวาเข้าสู่ทางหมายเลข 2 (มิตรภาพ) ตรงไปจนถึงตัวเมืองสระบุรี แล้วขับรถออกไปอีกประมาณ 8 กิโลเมตร ก็จะถึงบ้านต้นตาล อ.เสาไห้ จ. สระบุรี แล้วค่ะ


สถานที่พักผ่อน

ดิฉันได้พักผ่อนที่บ้านพักส่วนตัวของนางกฤษณา พิทยบุตร ประธานสภาวัฒนธรรมบ้านต้นตาล ตั้งอยู่ที่บ้านต้นตาล อ. เสาไห้ จ.สระบุรี ซึ่งภายในบ้านหลังนี้ก็ได้มีศูนย์ศิลปวัฒนธรรมแห่งนั้น ชื่อว่า Papa’Studio เป็นศูนย์ศิลปวัฒนธรรมของชาติพันธุ์ไท-ยวน ที่มีไว้สำหรับฝึกสอน แต่งตัว รวมถึงการได้เข้ามาชมลายผ้าถุง และเสื้อผ้าการแต่งกายต่างๆอีกมากมาย


บรรยากาศ

สภาพอากาศของบ้านต้นตาล เป็นอากาศที่บริสุทธิ์มาก เพราะเป็นชุมชนที่ใช้ชีวิตอย่างเรียบง่าย มีแต่ความสนิทสนมกัน เพราะคนส่วนใหญ่มักเป็นญาติพี่น้องที่รู้จักกันอยู่แล้ว และวันที่ดิฉันไปได้มีฝนตกลงมา ยิ่งทำให้ได้สัมผัสกับอากาศที่เย็นสบาย และได้สัมผัสกลิ่นไอฝนที่สดชื่นอีกด้วยค่ะ 

ตลาดต้าน้ำบ้านต้นตาล

สถานที่แห่งนี้เป็นสถานที่รวมแหล่งนักท่องเที่ยวที่จะมาเยี่ยมชมวัฒนธรรมของชาติพันธุ์ไท-ยวน จากการที่ดิฉันได้เข้าไปชมตลาดต้าน้ำบ้านต้นตาลแห่งนี้ ทำให้ดิฉันได้เห็นวิถีชีวิตของชุมชนชาวไท-ยวน สิ่งที่ดิฉันประทับใจคือ การแต่งกายของพวกเขาจะใส่ผ้าทอลายขวางกันเป็นส่วนใหญ่ และสวมเสื้อแขนยาวมีความคล้ายคลึงกับคนชาวเหนือ และที่สำคัญการพูดคุยของเขาเหล่านี้ ยังใช้ภาษาไท-ยวน(ล้านนา) ซึ่งก็คล้ายคลึงกับภาษาเหนือ คนในชุมชนแห่งนี้ยังบอกดิฉันอีกว่า การใช้ภาษาพูดของเขาก็มักจะมีภาษาถิ่นผสมอยู่ด้วย และยังมีศิลปวัฒนธรรมไท-ยวน ที่จะออกมาสร้างสีสันให้แก่นักท่องเที่ยว นั่นก็คือการฟ้อนรำของลูกหลานชุมชนไท-ยวน มีความสวยงามและอ่อนช้อยสมกับเป็นการฟ้อนรำจริงๆด้วยค่ะ







อุทยานล้านนาท่าน้ำศักดิสิทธิ์

 ในวันนั้นถือเป็นโอกาสดีของฉันที่ได้เข้าไปเยี่ยมชมบรรยากาศแห่งนี้ พร้อมกับเจอท่านอุปทูต ผู้นำรัฐอรุณจันทร์ จากประเทศอินเดียมาเยี่ยมชมรมณียสถาน ท่าน้ำศักดิ์สิทธิ์มีแมกไม้ นานาพันธุ์และรวมถึงศิลปะหลากหลายชาติพันธุ์ พรรนา ณ สถานที่ศักดิ์สิทธิ์แห่งนี้ โดยมีท่านครูกฤษฏ์ ชัยศิลบุญ เป็นผู้ดูแลต้อนรับ




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น