วันพุธที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2559

สัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญ


        ปัจจุบันในโลกนี้เป็นยุคที่มีการเปลี่ยนแปลงทางสังคมอย่างรวดเร็ว ทั้งในระดับประเทศ และระดับโลก คนจะใช้ความสามารถที่มีไปผลักดันให้ตัวเองบรรลุเป้าหมาย ดังนั้นการนำความรู้มาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดจึงควรมุ่งพัฒนาทรัพยากรบุคคลของชุมชนเป็นสำคัญ  จนทำให้เบรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้ได้ เดี๋ยวเราจะมาพบกับ 2 บุคคลที่มีความรู้ความสามารถที่สะท้อนให้เห็นถึงการประสบความสำเร็จของการเป็นเชื้อสายกลุ่มชาติพันธุ์ไท-ยวน พร้อมกันเลยดีกว่าค่ะ

สัมภาษณ์คนที่ 1


นางกฤษณา พิทยาบุตร ประธานสภาวัฒนธรรมบ้านต้นตาล

คำถามที่ 1: อยากทราบความเป็นมาของกลุ่มชาติพันธุ์ไท-ยวน จังหวัดสระบุรี?

            ป้าอ้วน : ไท-ยวน เป็นกลุ่มชนหนึ่งที่มีอยู่ในภาคเหนือของไทย เป็นกลุ่มชนที่ใหญ่ที่สุดในภูมิภาค และถูกเรียกว่าคนเมือง มีศูนย์กลางอยู่ที่เชียงแสน (ในอดีต)  การกระจายตัวมีทั้งแบบย้ายถิ่นฐานตามปรกติ และการย้ายถิ่นฐานเพราะถูกกวาดต้อนไปเนื่องจากศึกสงคราม  ดังเช่น ไทยวนสระบุรี  เรียกตามแต่ละท้องถิ่นที่อพยพมาตั้งถิ่นฐาน
คนไทยวนสระบุรีนั้นอพยพมาอยู่ที่ จังหวัดสระบุรี ในสมัยรัชกาลที่ 1  ตั้งถิ่นฐานอยู่ริมแม่น้ำป่าสัก พื้นที่อำเภอเสาไห้ จ.สระบุรี  ซึ่งเป็นพื้นที่ที่อุดมสมบูรณ์ เหมาะแก่การทำเกษตรกรรม การปลูกสร้างบ้านเรือน ก็ยึดแบบแผนดั้งเดิมที่เคยมีมาจากบรรพบุรุษ


การอพยพถิ่นฐานของชาวไท-ยวน ในอดีต
การอพยพถิ่นฐานของชาวไท-ยวน ในอดีต

       จากอดีตครั้งในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ในปี  พ.ศ.  2347 ได้มีบัญชาให้เจ้าพระยายมราชยกทัพหลวงไปร่วมกับหัวเมืองฝ่ายเหนือ เชียงใหม่ น่าน ลำปางและเวียงจันทน์  จัดทัพเป็น 5 ทัพยกไปตีเมืองเชียงแสนหลังจากล้อมเมืองอยู่ได้1-2 เดือนจึงตีเชียงแสนสำเร็จ ได้ทำการเผาทำลายป้อมปราการกำแพงเมืองและกวาดต้อนผู้คนชาวเชียงแสนได้ประมาณ 23,000 คนเศษ  ชาวเชียงแสนส่วนหนึ่งอพยพเข้าไปอยู่ในเชียงใหม่น่าน ลำปาง  เวียงจันทน์อีกส่วนหนึ่งอพยพเข้าอยู่ในสระบุรีและราชบุรี เรียกตัวเองว่า ไท-ยวน
คำถามที่ 2 : อยากทราบวัฒนธรรมการแต่งกายของกลุ่มชาติพันธุ์ไท-ยวน จังหวัดสระบุรี?

การแต่งกายของชาติพันธุ์ไท-ยวน

ป้าอ้วน : การแต่งกายในสมัยนี้ก็เหมือนกับคนไทยทั่วไป แต่ว่าคนไทยวนที่บ้านต้นตาล เขาก็จะทอผ้า จะมีลายผ้าทอที่ติดตัวมา  คือคนไทยวนที่อาศัยอยู่ที่นี่ก็จะมีลักษณะเฉพาะเป็นผ้าถุงลายขวาง เสื้อแขนสั้นแขนยาวปกติ แต่เป็นผ้าที่ทอเอง ทุกบ้านก็จะมากี่อยู่ทุกบ้าน ทอซิ่นใส่เอง และยังมีกลุ่มทอผ้า เป็นกลุ่มสตรีในชุมชน เป็นกลุ่มไทยวนโบราณได้สืบทอดกันต่อมา

ภาษาการพูดในปัจจุบันเป็นอย่างไร?

          ป้าอ้วน :เป็นภาษาไทยวน ที่มีความคล้ายกับล้านนา ซึ่งมีความคล้ายกันเป็นอย่างมากและรวบรวมกับภาษาเหนือร่วมด้วย ชาวไทยวนสระบุรีจะพูดภาษายวน ซึ่งก็คือภาษาไทยนั่นเอง ต่างแต่ว่าจะมีสำเนียงเสียงต่างไปจากภาษาไทยกรุงเทพฯ ภาษาไทยวนสระบุรีจะมีสำเนียงเสียงและคำศัพท์ เช่นเดียวกับภาษาถิ่นล้านนา



สัมภาษณ์คนที่ 2 

นายพงศธร แสงทอง อายุ 24  ผู้เชี่ยวชาญทางด้านฟ้อนรำวัฒนธรรมไท-ยวน

คำถามที่ 1 : จุดเริ่มต้นของการที่พี่อ็อฟเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในการรำคืออะไร?

การแสดงฟ้อนรำ ณ ตลาดต้าน้ำบ้านต้นตาล
        พี่อ๊อฟ สวัสดีครับผมนายพงศธร แสงทอง นะครับหรืออ๊อฟนะครับ จบจากวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา คณะศิลปกรรมศาสตร์นาฏศิลป์ไทย
           พี่อ๊อฟ : จริงๆพี่อ๊อฟ ไม่ได้คิดอยากจะรำตั้งแต่แรกๆหรอก คือเราอะชอบทางด้านจิตกรรมชอบวาดภาพชอบออกแบบ ไม่ได้คิดเลยว่าตัวเองจะมารำแต่ทางแม่พี่อ๊อฟเขาเป็นเชื้อสายชาวไท-ยวน สระบุรี พี่อ๊อฟก็ไปทางบ้านแม่บ่อยๆก็ได้เห็นการฟ้อนรำของชาวไท-ยวนที่สระบุรี ที่บ้านต้นตาลก็ชอบก็รู้สึกว่ามันมีความสวยงาม เราเป็นเด็กเราก็ไปแอบดูประจำเวลาเขาซ้อมคราวนี้เห็นว่ามันสวยงามก็เลยคิดอยากจะรำ หาโอกาศจะเขาไปอยู่กับกลุ่มที่เขารำ พอสักประมาณประถม ประมาณป.5 เราก็ได้เขาไปที่ศูนย์วัฒนธรรมไท-ยวน ก็ได้ไปเรียนฟ้อนรำอยู่ที่นั่นแม่ก็ส่งเสริมเพราะเห็นว่าเราชอบพี่อ๊อฟก็ไปรำเลยเห็นว่าทางนี้เราก็ไปได้ก็เลยเข้าไปศึกษาดูมันก็เลยทำให้เรามีใจรักไปเลยกับการรำก็เลยคิดละว่าถ้าเกิดเราจบมาเนี่ยต้องเรียนนาฏศิลป์เรียนรำ แต่ไม่ได้คิดนะว่าตัวเองจะจบมาแล้วจะทำอะไรแต่คิดว่าเอาสิ่งที่เราชอบเราถนัดอย่างน้อยมันก็สามารถที่จะทำให้เรามีความสามารถที่จะต่อยอดไปอีก พอจากประถมเราเข้ามาเกี่ยวกับรำ มัธยมก็ต่อยอดไปเรื่อยๆเข้าชมรมรำ เป็นเด็กกิจกรรมโรงเรียนเพราะว่าโรงเรียนพี่อ๊อฟก็สนับสนุนเกี่ยวกับไท-ยวนสระบุรี ชาวไท-ยวน เพราะบริเวณนั้นเขาจะควบคุมเกี่ยวกับวัฒนธรรมไท-ยวนให้ฟื้นฟู เราก็ทำงานเกี่ยวกับ ไท-ยวนเรื่อยๆ มีความผูกพันเกี่ยวกับวัฒนธรรมไท-ยวนไปเรื่อยๆแล้วก็ได้มาเจอกับกลุ่มๆหนึ่ง กลุ่มมะต๋านอ่อน แต่ตอนนี้เปลี่ยนชื่อไปตามการเวลาไป เราก็ได้รู้จักครูรู้จักพี่น้อง ได้เรียนรู้เกี่ยวกับการฟ้อนรำไท-ยวน จนได้รู้ว่ามันเป็นมายังไง

คำถามที่ 2 : แล้วการรำทำให้ตัวพี่อ๊อฟเองประสบความสำเร็จไหม?




          พี่อ๊อฟ : พี่คิดว่าประสบความสำเร็จมากเลยครับเพราะว่าตอนนี้พี่อ๊อฟก็ใช้การรำ ใช้ความรู้ต่างๆเกี่ยวกับวัฒนธรรมกับการทำงานปัจจุบันนี้แล้วก็สามารถสอน สามารถถ่ายทอด สามารถสื่อให้คนพื้นที่หรือว่าคนที่อื่นให้รู้ว่าไท-ยวนมาจากไหน ฟ้อนรำต้องเป็นยังไงแบบไหนก็พอที่จะอธิบายให้คนได้รู้ ได้เข้าใจ ได้เห็นและก็เราอยู่กับมันมานานเราก็ต้องไม่ลืมบุญคุณเขา ไม่ลืมบุญคุญความรู้เกี่บงกับการรำก็ประสบความสำเร็จนะครับเพราะทุกวันนี้พี่อ๊อฟก็มีใช้ อยู่ได้ก็เพราะการรำเนี่ยแหละครับ ไม่ว่าจะเป็นเราไทย รำไท-ยวน ก็เหมือนเป็นอาชีพเราอาชีพหนึ่ง โบราณที่คิดว่าการเต้นกินรำกินเป็นสิ่งไม่ดีเป็นเหมือนการดูถูก พี่คิดอีกแบบในมุมของพี่ว่าสมัยใหม่แล้วเราควรที่จะคิดแตกออกไปไม่ใช่โบราณแล้ว สมัยนี้มันเป็นสมัยใหม่เราก็ต้องคิดใหม่ ลองคิดใหม่ดูแต่ก็ไม่ได้เหลวไหล มันก็ช่วยได้นะ เราก็มีอยู่มีใช้อยู่ได้



รูปภาพเหล่าการแสดงต้อนรับนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติจากสหรัฐอเมริกา

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น